ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)

ประวัติชีวิตและผลงาน

ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๗๗ ที่บ้านบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรของนายสายบัว นางเป้ พงษ์ดำ
สมรสกับ นางประภาศรี พงษ์ดำ มีบุตรชาย ๓ คน

การศึกษา

ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดกุฏีทอง จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนาคประดิษฐ์วิทยาลัย จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จึงย้ายไปศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียน สิงหวัฒนาพาหะในวัยเด็ก ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ สนใจการวาดภาพสัตว์ต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาพไก่ สุนัข สุกร ม้า แมว ฯลฯ จนเมื่อเรียนชั้นมัธยม ได้มีโอกาส เรียนศิลปะกับครูจรูญ วินิจ ซึ่งจบการศึกษาทางด้านศิลปะมาจากวิทยาลัยเพาะช่าง โดยใช้หลักการสอน ๓ แบบให้นักเรียนได้ฝึกฝน ได้แก่ การวาดภาพจากความจำ จากของจริง และภาพประดิษฐ์
สมัยก่อนวิชาศิลปะเป็นวิชาที่คะแนนน้อย หลักสูตรที่ครูนำมาใช้ก็เป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างยาก ทำให้นักเรียนอื่น ๆ ไม่คอยให้ความสนใจ แต่ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์คำ กลับมุมานะฝึกฝนการวาดภาพต่าง ๆ อย่างเอาจริง เอาจังมากเป็นพิเศษ
          ในปี พ.ศ. 2493 ด้วยพื้นฐานการวาดภาพ ที่มีลักษณะพิเศษมาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทำให้ ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ สอบเข้าเรียนที่โรงเรียนเพาะช่าง ได้โดยไม่ยากนัก และในขณะที่ศึกษาอยู่ในชั้น
ปีที่ ๒ ของโรงเรียนเพาะช่าง ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ ก็ได้สอบเทียบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนได้รับปริญญา ศิลปบัณฑิต (จิตรกรรม) ชึ่งขณะศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ ๕ นั้น อาจารย์ศิลปะสองคนได้แก่ อาจารย์สิทธิเดช แสงหิรัญและอาจารย์แสวง สงฆ์มั่งมี เสียชีวิตลง    ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี
จึงมอบหมายให้ ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ ช่วยสอนวิชาพื้นฐานทางศิลปะ ได้แก่ทฤษฎีศิลป์
(Art Theory) และวิชากายภาค (Anatomy) แก่นักศึกษาด้วย ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ จึงต้องเรียนและสอนไปในเวลาเดียวกัน

การทำงาน

    หลังจบการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้บรรจุศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ เข้ารับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ตรี ต่อมาได้สอบชิงทุนการศึกษาต่อที่ Academia Di Beelle Arti Di Rome และผลการทดสอบความรู้ความสามารถทางศิลปะ ปรากฏว่าศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ มีผลงานโดดเด่นทำให้ไม่ต้องเรียนในชั้นที่ ๑ และ ๒ ข้ามไปเรียนชั้นปีที่ 3 ได้เลย ในช่วงศึกษาต่อที่อิตาลี ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ สร้างชื่อเสียงด้านการเรียน และการสร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็นที่ชื่นชม แก่คณะอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง โดยสามารถสอบวิชาศิลปะบางวิชาด้วยคะแนนเต็ม ๑๐๐ และยังได้รับรางวัล การประกวดเขียนภาพ รางวัลดีเด่นจำนวนมาก พ.ศ.๒๕๐๔ ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ สำเร็จการศึกษาได้ประกาศนียบัตรศิลป Diploma of Fine Arts จึงกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรต่อ โดยสรุปแล้ว ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ มีประวัติการทำงานดังนี้

ประวัติการรับราชการ

พ.ศ. ๒๕๐๑ อาจารย์ตรี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๐๔ อาจารย์โท คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๑๑ อาจารย์เอก คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ ๗ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๒๔ รองศาสตราจารย์ ระดับ ๙ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๓๖ ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร

        งานด้านบริหาร

พ.ศ. ๒๕๑๙ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาศิลปภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๒๐ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๗ ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งหอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร

งานด้านวิชาการ

งานการสอน เป็นอาจารย์สอนในคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ โดยเคยสอนวิชาจิตรกรรม 
องค์ประกอบศิลป์ วาดเส้น ทฤษฎีศิลป์ เช่น ทัศนียวิทยา และกายวิภาควิทยา
ปัจจุบันสอนวิชาศิลปภาพพิมพ์เป็นกรรมการและผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท 
ในคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาศิลปากร
เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาศิลปภาพพิมพ์ให้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
เป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปภาพพิมพ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปภาพพิมพ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

งานเผยแพร่ทางวิชาการ

เป็นผู้ได้รับเชิญไปบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาการด้านศิลปะให้แก่นิสิต นักศึกษา ประชาชนโดยทั่วไป เป็นวิทยากรในการสัมมนา ซึ่งจัดโดยหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆหลายครั้ง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องค์การบริหารนักศึกษานานาชาติ 
(World University Service) สำนักงานกลางคริสเตียนแห่งประเทศไทย กรมวิสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯลฯ
เป็นหัวหน้าคณะ นำผลงานด้านศิลปกรรมด้านทัศนศิลป์ จากประเทศไทย ๑๕๑ ชิ้นไปแสดงแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมที่กรุงปักกิ่ง เมืองคุนหมิง 
และกวางเจา สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นผู้แทนศิลปินจากประเทศไทยไปประชุมเชิงปฎิบัติการกับศิลปินอาเชียน 6 ชาติ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเชีย

 เป็นกรรมการและอนุกรรมการด้านวิชาการ

เป็นกรรมการพิจารณาร่างหลักสูตรปริญญาตรีให้วิทยาลัยเพาะช่าง
เป็นอนุกรรมการจัดตั้งและร่างหลักสูตรมัธยมแบบผสมทางศิลป์ ให้แก่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เป็นอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตร ให้แก่สถาบันเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เป็นกรรมการอำนวยการและกรรมการตัดสินการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ
เป็นกรรมการตัดสินการประกวดดวงตราไปรษณียากร
เป้นประธานกรรมการประกวดปฎิทินดีเด่น ปี ๒๕๒๖ ทุกปีจนถึงปัจจุบัน จัดโดยสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
เป็นอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ศิลปของราชบัณฑิตยสถาน
เป็นอนุกรรมการจัดงานวันอนามัยโลก
เป็นกรรมการประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับโครงการโปราณคดี และวิจิตรศิลป์ของ ซีมีโอ
เป็นกรรมการตัดสินการประกวดภาพจิตกรรมจัดโดย มหาวิทยาลัยศิลปากรและกรปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหลายแห่ง
เป็นประธานอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการของคณะกรรมการครู กระทรวงศึกษาธิการ
เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรปริญญาโททางศิลป ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(ประสานมิตร) แต่งตั้งโดยทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ. สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่งตั้งโดย ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
เป้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการระดับศาสตราจารย์ของทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ก. กรุงเทพมหานคร สาขาสถาบปัตย์และศิลปกรรม
เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นนักศึกษาเก่าดีเด่นของสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร
เป้นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง
เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันราชมงคลวิทยาเขต เพาะช่าง
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกาา ของมหาวิทยาลัยบูรพา
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผงงานทางวิชาการสาขาประติมากรรม กรมศิลปากร

        ผลงานสำคัญ

๑.ศาสตราจารย์ประหยัด ได้คิดค้นกรรมวิธีทางภาพพิมพ์ที่เป็นประโยชนืแก่การศิลปะภาพพิมพ์เป็นจำนวนมาก อาทิ การคิดค้นกรรมวิธีการผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์เข้าสู่งานจิตรกรรมเป็นภาพเดียวกันได้ค้นพบกรรมวิธีถ่ายทอดลายไม้จากแผ่นหนึ่ง เข้าไปผสมกับงานเขียนภาพจิตรกรรมกรรมวิธีนี้ยังไม่มีผู้ใดคิดและทำผลงานในลักษณะนี้มาก่อนได้เขียนเป็นตำราและ ได้บรรยายให้แก่สถาบันที่มีการเรียนการสอนศิลปะหลายแห่ง เช่น คณะครุศาสตร์ในภาควิชาครุศิลปะ สถาบันราชมงคล (เพาะช่าง) ตลอดจนหน่วยงานของเอกชนและกลุ่มผู้งานศิลปะ และผลงานในลักษณะนี้ เริ่มขยายตัวจากจุดนี้มากขึ้น จนแพร่หลายได้ผลตามเจตนาทุกอย่าง มีผู้มาขอคำแนะนำและศึกษากรรมวิธีนี้มาก ผลงานบางชิ้นที่เป็นลักษณะนี้สามารถจะเห็นได้
จาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย

๑) ภาพศรัทธา ๑.๒๐ x ๑.๒๐ ซม.
๒) ภาพนางกรัก ๑.๒๐ x ๑.๒๐ ซม.

โรงแรมฮิลตันปาร์คนายเลิศ
๑) การะ ๖๐ x ๘๐ ซม.
๒) พระจันทร์วันเพ็ญ ๖๐ x ๘๐ ซม.

ธนาคารไทยทนุ
วันเพ็ญเดือน ๑๒ ๑๒๐ x ๑๒๐ ซม.
๒.เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับเลือกให้เขียนภาพประกอบหนังสือเรื่อง พระมหาชนก พระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ภาพประกอบที่รับผิดชอบ ๔ ภาพ คือ
๑) ภาพนางมณีเมขลาสนทนากับพระมหาชนก ซึ่งกำลังว่ายน้ำกลางมหาสมุทร
๒) เป็นภาพหมู่เทวดาให้พรให้กำลังใจแก่พระมหาชนก ซึ่งใช้ความพากเพียรพยายามว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรเพื่อไปเมืองธิระนคร

๓) พระนางมณีเมขลาอุ้มพระมหาชนกเหาะลอยไปในอากาศเพื่อไปสู่เมืองธิระนคร
๔)เมืองถิระนครซึ่งใช้เค้าโครงการก่อสร้างคล้ายกับพระมหาราชวังในปัจจุบัน
การทำงานภาพประกอบครั้งได้ใช้เทคนิค กรรมวิธีการผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กัยงานจิตรกรรมซึ่งเป็นแนวแปลกใหม่สู่สายตาประชาชน
ผลงานชิ้นี้ได้พิมพ์สำเร็จแล้วและได้รับความนิยมจากสาธารณชนโดยทั่วไปเป็นอย่างมากจนต้องพิมพ์ครั้งที่ ๓

๓.ปัจจุบันมีผลงานกำลังทำถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกชิ้นหนึ่งคือ
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบ และเขียนภาพเพดานโบสถ์ วัดหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทราที่กำลังก่อสร้างอยู่และออกแบบลวดลายแกะหินอ่อน พื้นพระอุโบสถ ที่องค์พระหลวงพ่อโสธรประทับนั่งอยู่ และภาพประกอบฝาผนังอีก ๑ ภาพซึ่งเป็นภาพประวัติการก่อสร้าง
 และเรื่องราวของเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อโสธรผู้ล่วงลับไปแล้ว

๔.งานที่กำลังถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกชิ้นหนึ่ง คือ เขียนภาพผนังพระอุโบสถ วัดพระรามเก้า ร่วมกับ ผศ. ปรีชา เถาทอง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสะเก็ตช์ภาพถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงพอพระทัยให้ดำเนินการเขียนแล้ว ๕.ผลงานที่ทำขึ้นเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอีกอย่างหนึ่ง
คือ การทำแสตมป์ที่ใช้กันในประเทศไทย ศาสตราจารย์ประหยัดเป็นผู้ออกแบบและเขียนแสตมป์ด้วย ตัวเองตั้งแต่ยุคเริ่มต้น มีการเปลี่ยนรูปแบบของแสตมป์ไทยประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา โดยแต่เดิมนั้นแสตมป์ไทยเป็นรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นส่วนใหญ่ ถ้าต่างราคาก็พิมพ์ต่างสีกันเท่านั้น
จากการที่ได้เห็นแสตมป์ต่างประเทศในช่วงที่ได้รับทุนการศึกษาของรัฐบาลอิตาลีศึกษาอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี
(๒๕๐๒- ๒๕๐๔)เมื่อกลับมาประเทศไทย ได้หารือกับข้าราชการระดับสูงในกรมไปรษณีย์โทรเลข(สมัยนั้น)คือ
คุณศรีภูมิ สุขเนตร คุณเชาว์ ทองมาเปลี่ยนรูปแบบของแสตมป์เมืองไทยให้เหมือนและตั้งใจให้ดีกว่าแสตมป์
จากต่างประเทศ โดยยึดถือเอาสิ่งที่ดีของประเทศ เอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลป งานช่างผีมือที่น่าสนใจ
เช่น ความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ชุดเรือพระราชพิธี ชุดรำไทย ตลอดจนรูปแบบต่าง ๆ ที่ดูรู้ว่า เป็นแสตมป์ของประเทศไทย เพราะว่าแสตมป์นั้น ย่อมเผยแพร่ไปทุกมุมโลก นอกจากเป็นการเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยแล้วยังเป็นรายได้ของประเทศจากการมีผู้สะสมทั้งในและนอกประเทศ ซื้อหาไว้ครอบครองเป็นรายได้ของประเทศส่วนหนึ่ง และตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของแสตมป์ไทยจนถึงปัจจุบัน กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้เชิญศาสตราจารยประหยัดเป็นประธานและกรรมการคัดเลือก
ตัดสิน ในการประกวดออกแบบและเขียนรูปแสตมป์เป็นประจำทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน ผลงานออกแบบและรูปลักษณะ แสตมป์ ชึ่งมีลักษณะเป็นไทยในปัจจุบันนี้ทางองค์การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ส่งเข้าประกวดแสตมป์นานาชาติ และได้รับรางวัล เช่น ภาพแสตมป์รูปถ้วยเบญจรงค์ เป็นต้นจึงนับได้ว่าเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

๖. การแสดงและการประกวดงานศิลปกรรมต่างประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้แสดงงานศิลปกรรมร่วมกับศิลปินแห่งชาติหลายครั้ง หลายประเทศเช่น อิตาลี 
สวิสเซอร์แลนด์ ชีเรีย มาเลเชีย เนปาล ชิลี เวียดนาม อเมริกา ออสเตรเลีย ฝรังเศส ยูโกสลาเวีย เกาหลี จีน ญี่ปุ่น
พ.ศ. ๒๕๐๗ แสดงเดี่ยวที่บางกระปิแกเลอรี่ กรุงเทพ ฯ
พ.ศ. ๒๕๔๑ จัดนิทรรศการศิลปกรรม ภาพพิมพ์ที่เมืองซานตาดมนิกา ลอสแองเจลิส อเมริกา ร่วมกับ นายกมล ทัศนาญชลี 
ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ และรองศาสตราจารย์วราชุน ศิลปินชั้นเยี่ยม
พ.ศ.๒๕๔๑ จัดนิทรรศการงานศิลปร่วมกับศิลปินไทยหลายท่าน เช่น ผศ.ดำรง วงศ์อุปราช นายสวัสดิ์ ตันติสุข (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๔) 
นายกมล ทัศนาญชลี(ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ )รองศาสตราจารย์เดชา วราชุน ที่เมืองแวนคูเวอร์ บี.ซี.แคนนาดา และที่มาหาวิทยาลัยเบอร์เลย์ แคลิฟอร์เนีย
๗.รางวัลที่ได้รับในการแสดงและประกวดงานศิลปะ
พ.ศ. ๒๕๐๒ รางวัลภาพจิตกรรม จากแคว้นบราซาโน อิตาลี
พ.ศ. ๒๕๐๓ รางวัลภาพจิตรกรรม จากแคว้นกูบิโอ อิตาลี
พ.ศ. ๒๕๐๔ รางวัลภาพจิตกรรม จากสถาบันศิลปกรุงโรม อิตาลี
พ.ศ. ๒๕๐๖ รางวัลประเภทภาพพิมพ์ จากประเทศเวียดนาม
รางวัลที่ ๓ ประเภทมัณทนาศิลป์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.๒๔๙๙
รางวัลที่ ๒ ประเภทจิตกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๐๑
รางวัลที่ ๒ ประเภทเอกรงค์ รางวัลที่ ๓ ประเภทจิตกรรมและรางวัลที่ ๓ ประเภทมัณฑนศิลป์ในการแสดง
ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๐๑
รางวัลที่ ๒ ประเภทเอกรงค์ งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๐๒
รางวัลที่ ๒ ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๐๔
รางวัลที่ ๒ ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๐๕
รางวัลที่ ๑ ประเภทภาพพิมพ์ และรางวัลที่ ๓ ประเภทมัณฑนศิลป์ การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๕๐๖
รางวัลที่ ๓ ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๕๐๗
รางวัลที่ ๓ ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๕
รางวัลที่ ๒ ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๗
เกียรติคุณที่เคยได้รับ
ศาตราจารย์ประหยัด พงษ์คำ ได้รับเกียติคุณต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
๑) พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับเลือกเป็นศิลปินเกียรติยศ สาขาภาพพิมพ์(Accademic Onoraric Classe Incisione) จากสถาบันศิลป 
กรุงฟลอเรนซ์ อิตาลี (L'Accademia Fiorentina Delle arti del disegno) โดยรัฐบาลอิตาลี
๒) พ.ศ.๒๕๐๔ รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติในประเทศไทย
๓) พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับการย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสาขาทัศนศิลป์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ศาตราจารย์ประหยัด พงษ์คำ สร้างสรรค์ผลศิลปะต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ผลงานที่ปรากฏและยอมรับทั้งในและนอกประเทศ ผลงานมีองค์ประกอบทางศิลปะผสมกลมกลืนกันอย่างงดงาม มีเอกภาพ (Unity)
มีความประสานสัมพันธ์ (Hamony)
และความมีจิตวิญญาณ ( Spirit ) ซึ่งทั้ง ๓ ส่วนนี้เป็นพื้นฐานแนวทางของศาตราจารย์ประหยัด พงษ์คำ
ตลอดมา ผลงานให้คุณค่าท่างด้านสุนทรีย์แก่ผู้สนใจได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ศาตราจารย์ประหยัด พงษ์คำ ยังได้สร้างคุณูปการทางด้านศิลปะให้แก่ชาติบ้านเมืองไว้เป็นจำนวนมาก

ปัจจุบัน ศาตราจารย์ประหยัด พงษ์คำ อยู่บ้านเลขที่ ๒๓๗/๑ ซอยเพชรเกษม ๗๒ แขวงบางแคเหนือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐ โทร.4130982 โทรสาร 8043615
จากประวัติและผลงานดังกล่าว คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้
ศาตราจารย์ประหยัด พงษ์คำ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพิ์)  เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๑